1.1 ความหมาย ICT
1.1
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล
หรือรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone)
หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน
ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารนักเรียนเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
เช่น งานด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติการ
รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร
จึงประกาศให้ปี พ.ศ.2538 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
มีการลงทุนเกี่ยวกับโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเป็นจำนวนมาก เช่น มีการขยายระบบโทรศัพท์ และขยายเครือข่ายการสื่อสาร
มีการสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และการสร้างระบบจัดเก็บภาษีอากรด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ดังรูป 1.1
รูปที่ 1.1 ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในองค์กร
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ มากมาย
ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน
ดังรูปที่ 1.2
1. การเรียนทางไกลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.การเบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารต่างๆ
4.การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์(electronic mail: e-mail)ซึ่งเป็นการส่งข้อความถึงกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้รับสามารถเปิดคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านจดหมายหรือข้อความต่างๆ และสามารถโต้ตอบกลับได้ทันที
สื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล
การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับไปใช้ใหม่
ตัวอย่างเช่น
1. การเรียนทางไกลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. การสั่งซื้อสิ้นค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3. การเบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็ม 4. การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิสก์ หรืออีเมล(electronic mail: e-mail)
1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ
เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
|
1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น
ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว
มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
1.3.1
ด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา
เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน
นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา
ดังรูปที่ 1.14
1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง
2.
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น
ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น
และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว
แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน
หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ
ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม
นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป
ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้
เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com, ask.com, dogpile.com และ wikipedia.org ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากหลักฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังรูปที่ 1.15
เกร็ดน่ารู้
ระบบการลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้
โดยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง
และการเรียนการสอนเป็นวันอะไรเวลาอะไร วิชานั้นๆมีผู้สมัครเรียนกี่คน
เต็มจำนวนที่สามารถรับแล้วหรือไม่
ซึ่งจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถลงทเบียนเรียนได้อย่างถูกต้อง
โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดหรือไม่
จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการพิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน
พร้อมทั้งคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการลงทะเบียนแล้ว
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจะทำการการพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา
เพื่อแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ
ได้ทราบว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นกี่คน
ข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ
การพิมพ์รายชื่อนัดศึกษาเพื่อการกรอกคะแนนและเกรด
1.นักศึกษาตรวจสอบวิชาที่เปิดสอน ตารางสอน
2.ตรวจสอบวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่
3. พิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนและคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียน
4. พิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา
5. ข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ
ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การจัดพิมพ์รายชื่อนักศึกษา เพื่อการกรอกคะแนนและเกรด
1.3.2
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้
การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ
นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์
รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร
เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI scanner )ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง
เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง
และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner )ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ
ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก
จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ดังรูปที่
1.16
1.3.3ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม
เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร
นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม
การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น
โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า
การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม
ดังรูปที่ 1.17
1.3.4ด้านการเงินการธนาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
ดังรูปที่ 1.18
ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ
1.3.5ด้านความมั่นคง
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น
ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ
การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน
ทะเบียนประวัติอาชญากร
ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง
ดังรูปที่ 1.19
1.3.6ด้านการคมนาคมมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร
การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า
ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง
ดังรูปที่1.20
เกร็ดความรู้
ระบบควบคุมไฟจราจร
การควบคุมไฟจราจรด้วยคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สัญญาณไฟจราจรตามทางแยกมีการปิดเปิดสัญญาณไฟเขียวอย่างสัมพันธ์กัน เครื่องตรวจสอบสภาพจราจร
เป็นเครื่องนับจำนวนรถที่ผ่านไปต่อ 1 หน่วยเวลา
ซึ่งอาจใช้ห่วงลวดเหนี่ยวนำฝังไว้ใต้ผิวถนน
เมื่อมีรถยนต์วิ่งผ่านจะทำให้การเหนี่ยวนำมีการเปลี่ยนแปลง
และเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์
แล้วส่งสัญญาณกลับมาควบคุมการปิดเปิดไฟจราจรที่ทางแยกต่างๆ
ให้สอดคล้องกับสภาวะการจราจรในขณะนั้น
เซ็นเซอร์ตามถนนจะเก็บข้อมูลที่เป็นตัวนำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นข้อมูล ( ทิศทางและปริมาณของการจราจร
)ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมสัญญาณไฟจราจร
1.3.7ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ
หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว
ดังรูปที่ 1.21
1.3.8ด้านการพาณิชย์
องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ
เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน
ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร
หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป
สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร
ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ
การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า
ดังรูปที่ 1.22
|
1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.4.1ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ
มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้
นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง
ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกงานสั้นๆ
โทรศัพท์บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล(Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น
บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus)คือใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ
บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียง ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา
ดังรูปที่ 1.23
รูปที่
1.23ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา
วิทยุเรียกตัว
( Pager) โทรศัพท์เคลื่อนที่ ( Mobile Phone )
เครื่องช่วยงานส่วนบุคคล( PDA )
ในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น
นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต
มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง
ได้โดยง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว
อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม ( Web 3.0 )
แทนที่จะเป็นการใช้คำหลักเหมือนดังที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่
ดังรูปที่ 1.24
มากขึ้น
โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว( all-in-one ) ที่รูปที่
1.25ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต
สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้นรวมถึงสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้นอกจากนี้ยังมีระบบ
รักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นโดยอาศัยลายนิ้วมือหรือจอม่านตาแทนการพิมพ์รหัสแบบในปัจจุบัน ตัวอย่างอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต ดังรูปที่ 1.25
1.4.2
ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว( stand alone ) ดังรูปที่ 1.26
ต่อมามีการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร
เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือเรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system ) โดยมีเครื่องให้บริการ ( server )และเครื่องรับบริการ ( client )รูปที่
1.26คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว ( stand alone )
การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่าย
สะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( web server ) เป็นเครื่องให้บริการ
ดังรูปที่ 1.27
รูปที่
1.27การใช้บริการบนเว็บโดยใช้หลักการของระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system )
เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย
การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง
โดยที่เครื่องให้บริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆอยู่
เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
เรียกระบบแบบนี้ว่าเครือข่ายระดับเดียวกัน ( Peer-to-Peer network: P2P network ) ดังรูปที่ 1.28
รูปที่
1.28เครือข่ายระดับเดียวกัน ( Peer-to-Peer network: P2P network )
ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย( wireless LAN ) ในสถาบันการศึกษา
และองค์กรหลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือ ( Wi-Fi ) ตามห้างสรรพสินค้า
ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ภายใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ
ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้
หรือบางรายอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส( Global Positioning System: GPS )กับรถแท็กซี่เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ ดังรูปที่
1.29
1.4.3 ด้านเทคโนโลยี
ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น
ระบบแนะนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ
ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบทำงานอัตโนมัติเช่นนี้
อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์
มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ ดังรูปที่ 1.30
รูปที่1.30
ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ
ระบบควบคุมไฟจราจรอัตโนมัติ
เกร็ดน่ารู้
ระบบประเมินและรายงานสภาพจราจรแบบทันที
หรือระบบทราฟฟี่ ( Traffy ) พัฒนาโดย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC )สามารถช่วยในการวางแผนก่อนออกเดินทางและตรวจสอบสภาพจราจรขณะเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ติดขัด
โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่
พีเอ็นดี
( Personal Navigation Device: PND )เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการนำทาง
เสมือนผู้นำทางบนท้องถนนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
ค้นหาเส้นทางไปยังจุดหมายได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว
หรือช่วยบริการเส้นทางการเดินทาง นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางได้อีกด้วย
เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี( Radio
Frequency Identification: RFID )เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ
ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน คือ ป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ ( electronics tag )และเครื่องอ่าน ( reader ) ตัวอย่างเช่น
ในห้างสรรพสินค้ามีป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ที่สินค้าแต่ละชนิด
และมีเครื่องอ่านติดอยู่ที่ประตูทางออก หรือจุดชำระเงิน
เมื่อต้องการชำระเงินค่าสินค้า พนักงานจะใช้เครื่องอ่าน
อ่านราคาสินค้าจากป้ายระบุอิเล็กทรอนิกส์
ก็จะทราบราคาสินค้าหรือถ้าลืมชำระเงินแล้วเดินผ่านประตู
เครื่องอ่านก็จะส่งสัญญาณเตือน
|
1.5 ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เพื่อสนองความต้องการด้านต่างๆ
ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน
และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา
จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
1) ด้านสังคม สภาพเหมือนจริง
การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ
จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันว่า ไวเบอร์สเปซ (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุย
การซื้อสินค้า และการบริการ
การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เหมือนจริง (virtual) เช่น เกมเสมือนจริง ห้องสมุดเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
ห้องประชุมเสมือนจริง และที่ทำงานเสมือนจริง
ซึ่งทำไห้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
ตัวอย่างภาพเสมือนจริง ดังรูปที่ 1.31
สำหรับเกมเสมือนจริง
อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเกมหรือชีวิตจริง
อาจใช้ความรุนแรงเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวในสังคมปัจจุบัน
รูปที่
1.31 ตัวอย่างภาพเสมือนจริง
การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Cash)
การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและการบริการต่างๆ
ด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมาร์ต หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ดังรูปที่ 1.32 ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท
ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่
บัตรประจำตัวพนักงานหรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ
เนื่องจากพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว
ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบนำข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน
เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด
เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร
เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีของตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร
หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1.33
รูปที่
1.33 ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
บริการนำเสนอแบบตามคำขอหรือออนดีมานด์ (on demand) เป็นการเข้าถึงข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา เช่น
การเลือกชมรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุย้อนหลังได้ทางเว็บไซด์
แทนการติดตามดูรายการโทรทัศน์ หรือฟังรายการวิทยุ
ตามตารางที่ทางสถานีกำหนดไว้ล่วงหน้า
การศึกษาออนดีมานด์ (education on demand) เป็นการเปิดเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใด เวลา ใดก็ได้
แล้วเลือกวิชาเรียนบทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอีเลิร์นนิง (e-Learning) ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์ ดังรูป 1.34
การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overlord) การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง
สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี
เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล์ รูป 1.35 ผู้ติดเทคโนโลยี
รูป 1.34การนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์
เล่นเกมออนไลน์
ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ รวมถึงการทำลายสัมพันธภาพทางสังคม เช่น ครอบครัว
กลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานได้
ผู้ติดเทคโนโลยีมีอาการในลักษณะเดียวกับผู้ติดสิ่งเสพติดอย่างการพนัน สุรา
หรือยาเสพติด ดังรูป 1.35 เริ่มต้นจากการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เพิ่มระดับการใช้งานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนถึงในภาวะที่ไม่สามารถหยุดการใช้งานได้
เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อลืมโทรศัพท์มือถือหรืออยู่ในสถานที่ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้
ถึงแม้จะตระหนักถึงผลที่ตามมาเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่
ติดตามเทคโนโลยีให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆ
ที่เป็นประโยชน์ แทนการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไป
2) ด้านเศรษฐกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว
ชมรายการโทรทัศน์ที่จะส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก
สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก
เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น
ดังรูปที่ 1.36
รูปที่ 1.36 ระบบเศรษฐกิจของโลกที่ผูกพันกันทุกประเทศ
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล
ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ
และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (hybrid engine) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมก็ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง
เป็นการช่วยลดมลภาวะจากก๊าซ-ไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดังรูปที่ 1.37
รูปที่ 1.37
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์
เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ที่ถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งต่างจากขยะทั่วไป เช่น ถุงพลาสติก และเศษอาหาร
โดยในขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งๆ มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะและพลาสติก
รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน ยากต่อการแยกออกมา
โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานพบว่าขยะเหล่านี้นอกจากจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว
ยังปลดปล่อยสารพิษปะปนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม
การแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล
จึงทำได้ยากมากกว่าขยะทั่วไป เพราะต้องมีขั้นตอนวิธีที่เหมาะสม
จึงต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องจัดการอย่างมีระบบ
ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้คุ้มค่า
จะซื้อใหม่เมื่ออุปกรณ์นั้นไม่สามารถซ่อมได้แล้ว
และไม่เปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆตามกระแสนิยม ตัวอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์
ดังรูปที่ 1.38
รูปที่ 1.38 ขยะอิเล็กทรอนิกส์
|
1.6 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มี
ความรู้ความเข้าใจงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง
ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ
งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่าย
ทั้งในและนอกองศ์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์
และระบบเครือข่าย ดังนั้นองศ์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆ ขององศ์กร
ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
|